Category Archives: ไอคอนสยาม

ไอคอนสยาม

ไอคอนสยาม is the position for activity in post to be presented at the first rank on Google pagesearch by address the focus keyword name in category.

ไอคอนสยาม (อังกฤษICONSIAM, ชื่อเดิม: บางกอก เจ้าพระยา ริเวอร์ฟร้อนท์ ไอ-ซิตี้[2]) และ ไอซีเอส (อังกฤษICS) เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสมบนพื้นที่ 50 ไร่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

ไปยังการนำทางไปยังการค้นหา

ไอคอนสยาม
ไอคอนสยาม logo
Iconsiam at Night (II).jpg

ไอคอนสยาม มุมมองจากลานริมแม่น้ำเจ้าพระยา
ที่ตั้ง 259, 289, 299 ถนนเจริญนคร แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร
พิกัดภูมิศาสตร์ 13.72667°N 100.51039°E
เปิด 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561[1]
ผู้บริหารงาน บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด โดย

สถาปนิก เออร์บัน อาร์คิเทคต์
จำนวนชั้น 10ชั้น (รวมชั้นใต้ดิน 2 ชั้น)
ที่จอดรถ 5,000 คัน
เว็บไซต์ ICONSIAM.com

ไอคอนสยาม (อังกฤษICONSIAM, ชื่อเดิม: บางกอก เจ้าพระยา ริเวอร์ฟร้อนท์ ไอ-ซิตี้[2]) และ ไอซีเอส (อังกฤษICS) เป็นโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชยกรรมแบบผสมบนพื้นที่ 50 ไร่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณซอยเจริญนคร 5 และอีก 5 ไร่บริเวณฝั่งตรงข้าม ถนนเจริญนคร ใกล้ปากซอยเจริญนคร 4 ในพื้นที่แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร เกิดจากการร่วมมือกันระหว่าง สยามพิวรรธน์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดิเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น มีพิธีเปิดโครงการในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 โครงการประกอบด้วยอาคารศูนย์การค้าขนาดใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาจำนวนสองอาคารเชื่อมต่อกัน ซึ่งมีพื้นที่ขายรวมกันมากเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศไทย รองจากเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต, อาคารชุดเพื่อการพักอาศัย 2 อาคาร ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นอาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทย และอาคารศูนย์การค้าขนาดกลางที่เชื่อมต่อกับอาคารโรงแรม โดยพื้นที่ทั้งหมดเชื่อมต่อกันด้วยถนนภายในโครงการและสถานีรถไฟฟ้าสายสีทอง

ประวัติ[แก้]

ที่มาโครงการ[แก้]

ไอคอนสยามเกิดจากการร่วมมือกันของสยามพิวรรธน์เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดิเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น (บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์) มีสัดส่วนการถือหุ้นอยู่ที่ 51:24.5:24.5 ตามลำดับ[3]

ไอคอนสยามตั้งอยู่ในพื้นที่เดิมของโรงสีสิบเก้า และตลาดศิรินทร์[4] ซึ่งต่อมาเป็นกรรมสิทธิ์ของ บริษัท สยามอรุณ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ในเครือศรีกรุงวัฒนา[5][6] โดยพื้นที่โครงการตั้งอยู่ระหว่างโรงแรมเพนนินซูล่า กับโรงแรมมิลเลเนียม ฮิลตัน กรุงเทพ นอกจากนี้ยังอยู่ตรงข้ามกับโรงแรมรอยัลออร์คิดเชอราตัน กรุงเทพ, โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ และอาคารสำนักงานของ กสท โทรคมนาคม สาขาบางรัก

ไอคอนสยาม มีมูลค่าการลงทุนเมื่อเริ่มโครงการ 35,000 ล้านบาท[5] ต่อมาเพิ่มเป็น 50,000 ล้านบาท[7] และ 54,000 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งถือว่าเป็นโครงการที่ใช้เงินลงทุนสูงที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น[8] โดยครึ่งหนึ่งเป็นเงินลงทุนของบริษัทพันธมิตรทั้ง 3 บริษัท ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็นสินเชื่อที่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารธนชาต เป็นผู้สนับสนุน ซึ่งผู้ร่วมทุนทั้ง 3 บริษัท ได้วางแผนที่จะเชื่อมโยงโครงการเข้ากับโรงแรม ศูนย์การค้า และสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน[7][9][10][11]

พิธีเปิด[แก้]

ไอคอนสยามจัดพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ในชื่อ “มหาปรากฏการณ์งานเปิดเมืองไอคอนสยาม” โดยในช่วงเช้า สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดโครงการด้วยพระองค์เอง[1][12][13][14] และในช่วงค่ำได้มีการจัดการแสดงในชุด “โรจนนิรันดร” ที่เป็นการผสมผสานระหว่างนาฏศิลป์ไทยแขนงต่าง ๆ และกายกรรมผาดโผน รวมถึงมีการเปิดตัว “เรือสำเภาศรีมหาสมุทร” ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ลอยน้ำแห่งแรกของประเทศไทย[15] มีการแสดงแปรขบวนของโดรนจากอินเทล จำนวน 1,400 ลำ และการแสดงคอนเสิร์ตของ อลิเชีย คีส์ รวมถึงการแสดงแสง สี เสียง ไปยังอาคารชุดเพื่อการพักอาศัยทั้ง 2 อาคารในโครงการด้วย[16]

ในวันที่ 9 พฤศจิกายน มีผู้เข้าร่วมพิธีเปิดจำนวนประมาณ 150,000 คน และในวันที่ 10 พฤศจิกายน ซึ่งเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าใช้บริการเป็นวันแรก มีจำนวนประชาชนเข้าใช้บริการประมาณ 200,000 คน[17] นอกจากนี้ในวันเดียวกัน ยังมีมินิคอนเสิร์ตของศิลปินจากซีรีส์ “รักใสใสหัวใจ 4 ดวง” ฉบับประเทศจีน[18]

ช่วงปีแรก[แก้]

ในช่วงครึ่งปีแรกหลังการเปิดไอคอนสยาม ได้มีการเปิดร้านค้า อีก 20-25 แบรนด์ อาทิ ร้านกาแฟ ร้านอาหาร รวมถึงบริการต่าง ๆ อย่าง ไอคอน บาย ฟิตเนสเฟิร์ส สาขาที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ,ไอคอนสยาม เฮอร์ริเทจ มิวเซียม, ทรู ไอคอนสยาม ฮอลล์ ศูนย์ประชุม[19]

จากสถิติหลังการเปิด 1 ปี (ข้อมูลปี พ.ศ. 2562) ไอคอนสยามมีผู้เข้ามาใช้บริการในวันปกติ เฉลี่ย 80,000-120,000 คนต่อวัน ส่วนในวันเทศกาล อย่างวันสิ้นปีใหม่ วันปีใหม่ วันลอยกระทง วันสงกรานต์ มีจำนวนผู้เข้ามาใช้บริการ เฉลี่ย 200,000-350,000 รายต่อวัน มีสัดส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติร้อยละ 35 จากกลุ่มหลักคือ จีน เกาหลี ไต้หวัน อินเดีย และกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) มียอดใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวราว 10,000-15,000 บาท ซึ่งสูงกว่าศูนย์การค้าทั่วไป[20]

เฟส 2[แก้]

ไอคอนสยามเตรียมพัฒนาไอคอนสยาม เฟส 2 บนเนื้อที่กว่า 5 ไร่ ฝั่งตรงข้ามไอคอนสยาม ประกอบด้วย โรงแรมฮิลตัน การ์เดน อินน์ กรุงเทพฯ ในเครือฮิลตัน ประกอบด้วยห้องพัก 244 ห้อง เปิดให้บริการในปี 2565, โค-เวิร์กกิ้ง สเปซ , ร้านค้า และซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ เป็นต้น[19]

การจัดสรรพื้นที่[แก้]

ศูนย์การค้าไอคอนสยาม ถ่ายจากฝั่งตรงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา

โครงการไอคอนสยาม ออกแบบโดยใช้แนวคิด “เมืองแห่งความรุ่งโรจน์อันเป็นนิรันดร์” (The Icon of Eternal Prosperity) มีพื้นที่โครงการรวมทั้งหมด 750,000 ตารางเมตร ประกอบด้วย

ศูนย์การค้า[แก้]

ภายในร้านแอปเปิลสโตร์แห่งแรกในประเทศไทย

ไอคอนสยาม ประกอบไปด้วยอาคารศูนย์การค้าจำนวน 2 อาคาร คือ ไอคอนสยาม (ICONSIAM) และไอคอนลักซ์ (ICONLUXE) โดยมีพื้นที่เฉพาะส่วนศูนย์การค้ารวม 525,000 ตารางเมตร ตัวอาคารออกแบบโดยได้แรงบันดาลใจจากกระทง บายศรี และสไบ ประกอบด้วยพื้นที่สำคัญดังนี้

  • สยามทาคาชิมาย่า (Siam Takashimaya) ห้างสรรพสินค้าในกลุ่มทาคาชิมาย่าสาขาแรกในประเทศไทย พื้นที่ 36,000 ตารางเมตร[21][22] โดยเป็นสาขานอกประเทศญี่ปุ่นที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ที่สุด ภายในนอกจากจะมีการแบ่งเป็นแผนกต่าง ๆ เช่นเดียวกับห้างสรรพสินค้าโดยทั่วไปแล้ว ยังมีศูนย์อาหารโรส ฟู้ด อเวนิว ตลาดทากะ มาร์เช ฮอกไกโด โดซังโกะ พลาซา และโซนรวมร้านอาหารเอเชีย โรส ไดน์นิ่ง อีกด้วย[23]
  • สุขสยาม (SOOK Siam) พื้นที่สำหรับนำเสนอผลิตภัณฑ์และวัฒนธรรมไทย[24]
  • เดียร์ ทัมมี (Dear Tummy) ซูเปอร์มาร์เก็ตและฟู้ดมาร์เก็ตที่นำเสนอสินค้าและร้านอาหารระดับพรีเมียม
  • เซเว่น อีเลฟเว่น ร้านสะดวกซื้อรูปแบบพรีเมียมแห่งแรกในศูนย์การค้า[25]
  • แอปเปิลสโตร์ (Apple Store) สาขาแรกในประเทศไทย และเป็นสาขาที่สองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อจากประเทศสิงคโปร์[26][27]
  • ไอคอนคราฟต์ (ICONCRAFT) แหล่งรวมงานหัตถศิลป์และนวัตศิลป์ฝีมือคนไทย โดยความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงอุตสาหกรรม และศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน)[28]
  • ไอคอน ซีเนคอนิค (Icon Cineconic) โรงภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป[29] จำนวน 14 โรง[23] ในจำนวนนี้มีโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์ โฟร์ดีเอ็กซ์ และดอลบี แอทมอส ระบบละ 1 โรง
  • ซุปเปอร์พาร์ค (SuperPark) สวนสนุกจากประเทศฟินแลนด์ โดยเป็นสาขาที่สามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อจากประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย[30] นอกจากนี้ยังเป็นสาขาที่มีขนาดใหญ่อันดับสามรองจากสาขาในประเทศฟินแลนด์และฮ่องกง[31]
  • ทรู ไอคอน ฮอลล์ (True Icon Hall) ศูนย์ประชุมและโรงมหรสพอเนกประสงค์ ประกอบด้วยโถงประชุมหลัก พื้นที่ 2,775 ตารางเมตร ความจุสูงสุด 2,700 ที่นั่ง และห้องประชุมย่อยอีก 14 ห้อง (ร่วมทุนกับ ทรู คอร์ปอเรชั่น)[32]
  • ไอคอน บาย ฟิตเนส เฟิร์สท์ (Icon by Fitness First) สถานออกกำลังกายภายในศูนย์การค้า โดยเป็นฟิตเนส เฟิร์สท์ สาขาใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย[33][34]
  • ริเวอร์ มิวเซียม แบงค็อก (River Museum Bangkok) พิพิธภัณฑ์มาตรฐานสากลแห่งแรกของประเทศไทยที่ตั้งอยู่ภายในศูนย์การค้า โดยได้รับความร่วมมือจากกรมธนารักษ์ และกรมศิลปากร[32][35]

อาคารชุดเพื่อการพักอาศัย[แก้]

อาคารชุดเพื่อการพักอาศัยของไอคอนสยาม

ไอคอนสยาม ประกอบด้วยอาคารที่พักอาศัย 2 อาคาร ได้แก่

Call Now Button