เวิ้งนครเขษม ลูกหมุน : ระบายอากาศ พร้อมแผ่นฐาน เวิ้งนคร […]
Category Archives: เวิ้งนครเขษม
เวิ้งนครเขษม
เวิ้งนครเขษม is the position for activity in post to be presented at the 1st rank on Google page search by the focus keyword in category.
เวิ้งนครเขษม เป็นสถานที่แห่งหนึ่งใน เขตพระนคร
เขตพระนคร เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร เนื่องจากมีสถานที่สำคัญทั้งทางด้านวัฒนธรรมและด้านการเมืองการปกครองตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเขตพระนครเป็นที่ตั้งของเกาะรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน
เนื้อหา
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
ตั้งอยู่บนเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นบริเวณตะวันตกสุดของฝั่งพระนคร มีอาณาบริเวณติดต่อกับเขตข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตดุสิต มีคลองผดุงกรุงเกษมเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายและเขตสัมพันธวงศ์ มีถนนราชดำเนินนอกและคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตคลองสานและเขตธนบุรี มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตบางกอกใหญ่ เขตบางกอกน้อย และเขตบางพลัด มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์[แก้]
เขตพระนครเดิมมีฐานะเป็น อำเภอชนะสงคราม ขึ้นกับกรมนครบาล มีที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่ถนนจักรพงษ์ ติดกับวัดชนะสงครามด้านเหนือ
ในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2458 ได้มีประกาศยกเลิกอำเภอชั้นในแต่เดิมและตั้งอำเภอชั้นในขึ้นใหม่ 25 อำเภอ ได้แก่ อำเภอพระราชวัง อำเภอชนะสงคราม อำเภอสำราญราษฎร์ อำเภอพาหุรัด อำเภอจักรวรรดิ อำเภอสัมพันธวงศ์ อำเภอสามแยก อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย อำเภอสามยอด อำเภอนางเลิ้ง อำเภอบางขุนพรหม อำเภอสามเสน อำเภอดุสิต อำเภอพญาไท อำเภอประแจจีน อำเภอประทุมวัน อำเภอบางรัก อำเภอสาธร อำเภอบ้านทะวาย อำเภอบางพลัด อำเภออมรินทร์ อำเภอหงสาราม อำเภอราชคฤห์ อำเภอบุปผาราม และอำเภอบุคคโล
ต่อมาในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2471 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการรวมพื้นที่อำเภอพาหุรัด อำเภอสำราญราษฎร์ อำเภอพระราชวัง และอำเภอชนะสงครามเป็นอำเภอเดียวกัน เรียกว่า อำเภอพระนคร ตามประกาศยุบรวมอำเภอและกิ่งอำเภอในจังหวัดพระนครและธนบุรี (ภายหลังได้ยุบอำเภอสามยอดและอำเภอบางขุนพรหมเข้ามารวมด้วย) และใน พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติจัดระเบียบการปกครองในเขตนครหลวงใหม่ อำเภอพระนครจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตพระนคร ขึ้นกับกรุงเทพมหานคร
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
เขตพระนครแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 12 แขวง ได้แก่
อักษรไทย | อักษรโรมัน | พื้นที่ (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร (ธันวาคม 2561) |
จำนวนบ้าน (ธันวาคม 2561) |
ความหนาแน่นประชากร (ธันวาคม 2561) |
---|---|---|---|---|---|
พระบรมมหาราชวัง | Phra Borom Maha Ratchawang |
1.647
|
3,963
|
1,202
|
2,406.19
|
วังบูรพาภิรมย์ | Wang Burapha Phirom |
0.720
|
11,317
|
5,361
|
15,718.05
|
วัดราชบพิธ | Wat Ratchabophit |
0.220
|
3,278
|
984
|
14,900.00
|
สำราญราษฎร์ | Samran Rat |
0.230
|
3,221
|
1,139
|
14,004.34
|
ศาลเจ้าพ่อเสือ | San Chao Pho Suea |
0.144
|
3,260
|
999
|
22,638.88
|
เสาชิงช้า | Sao Chingcha |
0.153
|
2,243
|
703
|
14,660.13
|
บวรนิเวศ | Bowon Niwet |
0.496
|
4,699
|
1,580
|
9,473.79
|
ตลาดยอด | Talat Yot |
0.193
|
2,409
|
1,191
|
12,481.86
|
ชนะสงคราม | Chana Songkhram |
0.339
|
1,906
|
828
|
5,622.41
|
บ้านพานถม | Ban Phan Thom |
0.414
|
6,687
|
2,035
|
16,152.17
|
บางขุนพรหม | Bang Khun Phrom |
0.458
|
4,520
|
2,109
|
9,868.99
|
วัดสามพระยา | Wat Sam Phraya |
0.522
|
2,879
|
970
|
5,515.32
|
ทั้งหมด |
5.536
|
50,382
|
19,101
|
9,100.79
|
ประชากร[แก้]
[แสดง]สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร เขตพระนคร[2] |
---|
เหตุการณ์สำคัญ[แก้]
- 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556 รัฐบาลประกาศ พระราชบัญญัติ (พรบ.) การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรเขตพื้นที่เขตดุสิต เฉพาะแขวงดุสิต แขวงสวนจิตรลดา และแขวงสี่แยกมหานาค เขตพระนคร เฉพาะแขวงพระบรมมหาราชวัง แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ แขวงเสาชิงช้า แขวงสำราญราษฎร์ แขวงชนะสงคราม แขวงตลาดยอด แขวงวัดบวรนิเวศ แขวงบ้านพานถม และแขวงบางขุนพรหมและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เฉพาะแขวงวัดโสมนัส แขวงบ้านบาตร กรุงเทพมหานครต่อเนื่องถึง 30 พฤศจิกายน 2556
26 – 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560 พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
สถานที่สำคัญในเขตพระนคร[แก้]
ที่ทำการรัฐบาล[แก้]
ได้แก่
- ทำเนียบองคมนตรี
- กระทรวงมหาดไทย
- กระทรวงกลาโหม
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- กรมข่าวทหารบก
- กรมศิลปากร
- กรมแผนที่ทหาร
- กรมสวัสดิการทหารเรือ
- กรมพระธรรมนูญ (ศาลทหารกรุงเทพมหานคร)
- กองบัญชาการกองทัพบก
- หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน
- ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เลขที่ 173 ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า
- ศาลฎีกา
- สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขที่ 1 ถนนพระอาทิตย์ แขวงพระบรมมหาราชวัง
- ธนาคารแห่งประเทศไทย
วัด[แก้]
มีจำนวน 23 แห่ง ได้แก่
- วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
- วัดสุทัศนเทพวราราม
- วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
- วัดบวรนิเวศวิหาร
- วัดมกุฏกษัตริยาราม
- วัดอินทรวิหาร
- วัดใหม่อมตรส
- วัดนรนารถสุนทริการาม
- วัดเอี่ยมวรนุช
- วัดราชนัดดาราม
- วัดเทพธิดาราม
- วัดตรีทศเทพ
- วัดราชบุรณะ
- วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
- วัดมหรรณพาราม (โรงเรียนประถมศึกษาแห่งแรกของไทย)
- วัดปรินายก
- วัดทิพย์วารีวรวิหาร
- วัดชนะสงคราม
- วัดสังเวชวิศยาราม
- วัดสามพระยา
- วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
- วัดบุรณศิริมาตยาราม (วัดศิริอำมาตย์)
มัสยิด[แก้]
มีจำนวน 2 แห่ง ได้แก่
ศาลเจ้า[แก้]
มีจำนวน 7 แห่ง ได้แก่
- ศาลเจ้าพ่อเสือ
- ศาลเจ้าพ่อหอกลอง
- ศาลเจ้าแม่ทับทิม
- ศาลเจ้าบ้านหม้อ
- ศาลเจ้าพ่อเขาตก
- ศาลเจ้าแม่สาวิตรี
- ศาลเจ้าพ่อหนู
- ศาลเจ้าพ่อครุฑ
- ศาลหลักเมือง